เอกสารอ้างอิงแบบย่อ

เป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์สำหรับการต่อสู้กับอาชญากรรมสัตว์ป่า

Photo by Gautam Arora

หน้าแรก

เว็บไซต์นี้มีการป้องกันด้วยรหัสผ่าน หากท่านเป็นเจ้าหน้าที่ด้านการบังคับใช้กฎหมายหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามอาชญากรรมสัตว์ป่าโปรดส่งคำขอรหัสผ่านไปที่ info@usaidrdw.org

บทนำ

อาชญากรรมต่อสัตว์ป่าเป็นปัญหาทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศที่น่าเป็นห่วงมากขึ้น ด้วยตระหนักถึงความเชื่อมโยงของเครือข่ายองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติที่เกี่ยวข้องกับอาชกรรมในหลายรูปแบบ เช่น การค้าอาวุธ การค้ามนุษย์ และการฟอกเงิน กระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการดำเนินคดีจะสามารถยับยั้งอาชกรรมต่อสัตว์ป่ารวมทั้งอาชกรรมอื่นที่เกี่ยงเนื่องกัน

 

เอกสารอ้างอิงแบบย่อเกี่ยวกับการกระทำความผิดที่บังคับใช้กับการค้าที่ผิดกฎหมายซึ่งสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ในประเทศไทย (RRG) คืออะไร และเหมาะกับใคร

เอกสารอ้างอิงแบบย่อ (RRG) ฉบับนี้ ประกอบด้วยคำจำกัดความในกฏหมายข้อบังคับ กล่าวถึงอำนาจตามกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น การฟอกเงิน การเลี่ยงภาษี การทุจริตคอร์รัปชั่น 

เอกสารอ้างอิงแบบย่อ (RRG) ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อช่วยพนักงานสอบสวน เจ้าหน้าที่ที่จัดการคดี และพนักงานอัยการ ในการทำคดีให้มีน้ำหนักเพียงพอที่จะดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดต่อสัตว์ป่าและอาชกรรรมอื่นที่เกี่ยวข้องได้  RRGฉบับนี้เป็นเครื่องมือเบื้องต้นสำหรับพนังงานอัยการ และพนักงานสอบสวนด้านอาชญากรรมสัตว์ป่าในประเทศไทย และยังเป็นแหล่งอ้างอิงสำคัญสำหรับเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย องค์กรด้านการอนุรักษ์ต่าง ๆ ที่ทำงานร่วมกันเพื่อต่อสู้กับอาชญากรรมต่อธรรมชาติ และนำผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม  RRGฉบับนี้ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานรัฐ ได้แก่ สำนักงานอัยการสูงสุด, กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช, กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม-สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กรมศุลากร, สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้ใช้อื่นที่สำคัญที่สามารถใช้เอกสารอ้างอิงแบบย่อฉบับนี้ ได้แก่ องค์กรระหว่างประเทศ และองค์กรไม่แสวงหากำไร (NGOs) ต่าง ๆ ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฏหมาย สถาบันการศึกษาที่ให้ความรู้ในประเด็นกฏหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมต่อสัตว์ป่า

เอกสารอ้างอิงแบบย่อเกี่ยวกับการกระทำความผิดที่บังคับใช้กับการค้าที่ผิดกฎหมายซึ่งสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ในประเทศไทย (RRG) พัฒนาขึ้นมาได้อย่างไร

เอกสารอ้างอิงแบบย่อ (RRG) ฉบับนี้ ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้การนำของสำนักงานอัยการสูงสุด โดยการสนับสนุนจาก USAID Wildlife Asia  แต่การพัฒนานี้มาถึงจุดสูงสุดได้มาจากการระดมความคิดเห็นร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายจากหลายองค์กร รวมถึงกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช, กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม-สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กรมศุลากร, สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ   โดยองค์กรWWFและมูลนิธิFreelandได้มีส่วนร่วมให้การสนับสนุนการพัฒนาเอกสารอ้างอิงแบบย่อ(RRG)ฉบับนี้เช่นกัน

เอกสารอ้างอิงแบบย่อเกี่ยวกับการกระทำความผิดที่บังคับใช้กับการค้าที่ผิดกฎหมายซึ่งสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ในประเทศไทย (RRG) ทำไมจึงสำคัญ

อาชญากรรมข้ามชาติเป็นภัยคุกคามต่อประชากรสัตว์ป่า และกิจกรรมของเครือข่ายอาชญากรรมเหล่านี้ยังหล่อเลี้ยงการทุจริตคอร์รัปชั่นทั่วโลก บ่อนทำลายระบบนิติรัฐนิติธรรม และเป็นอันตรายต่อชุมชน

เอกสารอ้างอิงแบบย่อ RRG นี้ยังช่วยในการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรมทางอาญา การบังคับใช้กฎหมาย และดำรงความเป็นเลิศขององค์กรในการต่อสู้กับอาชญากรรมเกี่ยวกับสัตว์ป่า  RRGฉบับนี้เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อพนักงานสืบสวนสอบสวนและพนักงานอัยการสำหรับดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด และสามารถนำไปใช้ได้ทั้งในระดับประเทศและระดับจังหวัด  และเอกสารอ้างอิงแบบย่อ RRG นี้ยังสนับสนุนให้มีการประสานงานและการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฏหมายต่างๆ โดยเฉพาะเมื่อมีองค์ประกอบในระดับระหว่างประเทศมาเกี่ยวข้อง   สร้างพันธมิตรที่แข็งแกร่งในการทำงานร่วมกัน อันส่งเสริมให้การส่งผ่านข้อมูลและการแลกเปลี่ยนแหล่งข้อมูลระหว่างหน่วยงานเป็นปัจจัยสำคัญในการทำลายล้างขบวนการอาชญากรรมระดับโลกที่คอยให้ความช่วยเหลือการค้าผลิตภัณฑ์สัตว์ป่าผิดกฏหมาย เช่น งาช้าง นอแรด เนื้อและเกล็ดลิ่น และผลิตภัณฑ์จากเสือ

เกี่ยวกับสำนักงานอัยการสูงสุดประเทศไทย


สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการดำเนินการฟ้องร้องและการพิจารณาคดีในประเทศไทย เป็นหน่วยงานอิสระซึ่งขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรีโดยตรง สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน่วยงานและหน้าที่หลัก 4 หน่วย ได้แก่ การบริหารกระบวนการยุติธรรมทางอาญา การรักษาผลประโยชน์ของชาติ การคุ้มครองสิทธิพลเมืองรวมถึงการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย และความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องอาชญากรรม ในสำนักงานอัยการสูงสุด แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือสำนักงานกลางในกรุงเทพมหานครและสำนักงานส่วนภูมิภาคในต่างจังหวัด ทั้งส่วนกลางและสำนักงานภูมิภาคมีอำนาจในการดำเนินคดีอาชญากรรมด้านสิ่งแวดล้อมรวมถึงอาชญากรรมสัตว์ป่าที่เกิดขึ้นภายในเขตอำนาจศาลของตน